ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา สื่อการเรียนการสอนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ นักการศึกษา และนักเทคโนโลยีการศึกษาก็พยายามหาสิ่งต่าง ๆ มาพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี รวดเร็ว น่าสนใจ จากสื่อที่ผลิตอย่างง่าย ๆ เช่น รูปภาพแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ ตลอดจนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สไลด์ประกอบเสียง ภาพยนตร์เพื่อการศึกษา วิทยุเพื่อการศึกษา วิดีทัศน์เพื่อการศึกษา ฯลฯ
มัลติมีเดีย หรือ สื่อประสม หมายถึง การนำเสนอสื่อ ด้วยการใช้สื่อตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปมาใช้ร่วมกัน เช่น การนำเสนอสื่อ เรื่อง การสนทนาภาษาอังกฤษ ที่มีภาพและเสียงประกอบกันเพื่อถ่ายทอดท่าทาง การออกเสียง และการสะกดคำศัพท์ในรูปแบบของข้อความไปพร้อมกันเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในการนำมาผลิตสื่อการศึกษามากขึ้น ด้วยเหตุผล ที่น่าสนใจ และนำเอาศักยภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มาใช้ผลิตสื่อการเรียนการสอน คือ - สามารถ นำเสนอได้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ เสียง ที่น่าสนใจ มีการกำหนดการโต้ตอบ ระหว่างผู้เรียนกับสื่อ ความแปลกใหม่ของคอมพิวเตอร์ทำให้บทเรียนน่าสนใจยิ่งขึ้น ทำในสิ่งที่สื่ออื่น ๆ ทำไม่ได้ เช่น การตัดสินใจเสนอเนื้อหาใหม่ ๆ หรือการตัดสินใจ เรียนซ้ำใน เนื้อหาเดิม มีการประเมินผลที่ถูกต้อง และแม่นยำ ตรงไป ตรงมา และรวดเร็ว - ช่วยลดปริมาณการใช้เอกสาร เพราะสามารถบันทึกข้อมูลลงในแผ่นซีดีรอม ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้จำนวนมาก ลดปริมาณเอกสารและการใช้กระดาษได้อย่างมากมาย- ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในเรื่องที่ตนเองสนใจได้
บทบาทของครู...........ในเมื่อสื่อมัลติมีเดียได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษามากขึ้น แล้วคงมีคำถามต่อไปอีกว่าบทบาทของครูจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด แน่นอนครูยังคงเป็นผู้นำทางด้านความรู้ให้กับลูกศิษย์ ถึงแม้ว่าสื่อประเภทนี้จะมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้เพียงใดก็เป็นเพียงเครื่องมือ ที่ช่วยอำนวย ความสะดวกให้การถ่ายทอดเนื้อหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ดังคำพูดที่ว่า สื่อทุกชนิด ไม่สามารถสอนแทนครูได้ แต่ครูทุกคนในยุคปัจจุบันคงจะหาคน ที่ปฏิเสธสื่อที่มีประสิทธิภาพ เช่น นี้ น้อยลงทุกวัน หลายคนพยายามเสาะแสวงหาสื่อมัลติมีเดียมาใช้ประกอบกิจกรรมการสอน หลายคนพยามยามเรียนรู้เพื่อสร้างสื่อชนิดนี้ แต่บางคนหวาดวิตก เกรงว่าชอล์กและกระดานดำ จะหมดคุณค่า (แต่ในความเป็นจริงยังคงมีความจำเป็น และมีคุณค่าอยู่เสมอ) อันนี้แล้วแต่ใครจะ วางบทบาทว่าจะอยู่ตรงไหนเท่านั้นเองครู จะเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำปรึกษาแก่ศิษย์ ในการเรียนรู้ จาก สื่อมัลติมีเดีย ดังนั้นจึงต้องพยายามเสาะแสวงหาความรู้ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในการสอน เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง และความต้องการในการเรียนรู้ของลูกศิษย์
บทบาทของผู้เรียน............ผู้เรียนเองก็ต้องฝึกนิสัยเป็นคนใฝ่รู้รับผิดชอบต่อตนเองให้มากขึ้น เปิดตัว เปิดใจเปิด ความคิดที่จะรับเอาความรู้ใหม่ ๆ ตามคำแนะนำของครู และผู้ให้คำแนะนำ พัฒนาตนเอง ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมต้องเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ไม่ใช่ตกเป็นทาสเทคโนโลยี คำว่าเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ คือเป็นผู้ใฝ่รู้ รักการศึกษา หาความรู้ใหม่ ๆ ให้กับตนเองอยู่เสมอ โดยอาศัยช่องทางในการพัฒนาเทคโนโลยีในการเปิดโลกทัศน์ของตนเอง ต้องไม่คิดว่าการศึกษามีเพียงในห้องเรียนเท่านั้น ในโลกแห่งยุคดิจิตอลความรู้จ ะ มีอยู่ทุกหน ทุกแห่ง ขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะเป็นผู้เสาะแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาตัวเองได้มากน้อยเพียงใด คำว่า ทาสของเทคโนโลยี คือผู้ที่ให้เทคโนโลยีนำชีวิต ไม่รู้จักใช้เทคโนโลยีในทางที่เหมาะสม เพราะ ในปัจจุบันจะพบเห็นข่าวการใช้สื่อมัลติมีเดีย หรือเทคโนโลยีในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น สนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แบบข้ามวันข้ามคืน ในเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์หรือถูกชี้นำไป ในทางที่ผิด หรือ แม้กระทั่งการใช้ความรู้ ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ในการทำร้าย กลั่นแกล้ง ต่อผู้อื่นและสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในยุคสมัยนี้เป็นอย่างยิ่ง ถ้าผู้เรียนรู้จักใช้ มีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเอง รู้จักใช้ในทางที่สร้างสรรค์ สื่อชนิดนี้จะให้ประโยชน์เป็นอย่างมาก
จะหาสื่อมัลติมีเดียได้จากที่ใดคงจะมีคำถามสำหรับผู้ที่ต้องการใช้สื่อชนิดนี้มาใช้งานขอแนะแนวทางดังต่อไปนี้
1. จัดซื้อ ปัจจุบันสื่อชนิดนี้มีจำหน่ายในท้องตลาดค่อนข้างมาก พยายามเลือกหาสื่อที่ตรงตามจุดประสงค์ในการเรียนการสอน และเป็นสื่อที่ผ่านการทดลองและเป็นที่ยอมรับ หรือผู้สอนใช้ดุลพินิจในการเลือกซื้อ ซึ่งมีตั้งแต่ราคา 80 บาท ถึง หลายพันบาท อาจหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายวัสดุ ครุภัณฑ์ ทางการศึกษา หรือร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป
2. จัดจ้าง การที่จะหาสื่อที่ตรงตามจุดประสงค์จริง ๆ อาจหาได้ยากในท้องตลาด เพราะผู้ผลิตมาจำหน่ายส่วนใหญ่จะเน้นความบันเทิงมากกว่า เพื่อทำยอดขายให้สูง ดังนั้น ผู้ใช้อาจจะต้องใช้วิธีจ้างนักคอมพิวเตอร์ หรือนักเทคโนโลยีการศึกษาในการผลิตโดยผู้ใช้ต้องกำกับ ดูแล อย่างใกล้ชิด
3. ผลิตเอง ในข้อนี้เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด จะประหยัดทั้งเวลา และงบประมาณ และได้สื่อที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด ดังนั้น ผู้ใช้ควรศึกษา รูปแบบ เทคนิค วิธีการ ตลอดจนเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการผลิตให้พร้อม เชื่อแน่ว่าคงจะไม่เกินความสามารถ ซึ่งจะได้แนะนำในหนังสือเล่มนี้ต่อไป
4. หาจากแหล่งอื่น ๆ อาจจะใช้วิธียืมจากแหล่งบริการทางวิชาการต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด สถานศึกษา หรือการ Download แฟ้มข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีหลายแห่งที่ให้บริการ
ใครเป็นผู้สร้างสื่อมัลติมีเดีย
ในการสร้างสื่อมัลติมีเดียต้องอาศัยผู้ชำนาญการในหลายๆด้านเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สื่อที่ประสิทธิภาพ โดยมีบุคลากรที่เกี่ยวข้อง คือ
1. ครูผู้สอน เป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่จะทำการสร้าง อีกทั้งจะเป็นผู้ออกแบบกรอบเนื้อหาของแต่ละหน้าจอตามความเหมาะสม
2. นักเทคโนโลยีการศึกษา จะเป็นผู้ที่ออกแบบบทเรียนให้น่าสนใจ รวมถึงการจัดทำงานศิลปะ วางแผนการผลิต ตลอดจนหารูปแบบที่มีความเหมาะสมของสื่อ และเป็นผู้ดำเนินการผลิต
3. นักคอมพิวเตอร์ ในการสร้างสื่อมัลติมีเดียบางครั้งต้องอาศัยเทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ชั้นสูง เพื่อให้บทเรียนตอบสนองต่อความต้องการได้เป็นอย่างดี เช่น การเขียนโปรแกรมเพื่อประเมินผลการสอบ การเขียนโปรแกรมเพื่อบันทึกข้อมูลของผู้เรียน เป็นต้น
4. บุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักจิตวิทยา ช่างศิลป์ ช่างบันทึกเสียง หรือผู้ช่วยในด้านอื่น ๆ ในเนื้อหาที่ต้องการความชำนาญเฉพาะด้านจากบุคลากรทั้ง 4 ด้าน ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์ผลงาน แต่ในบางครั้งในหน่วยงานอาจขาดแคลนบุคลากรในด้านต่าง ๆ ดังนั้น ผู้สร้างอาจต้องศึกษา เพื่อสร้างความชำนาญและทักษะด้านต่าง ๆ อย่างครบถ้วนเพื่อสร้างสื่อที่มีประสิทธิภาพต่อไป
มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
มัลติมีเดียจะกลายมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการศึกษาในอนาคต ทั้งนี้เพราะว่ามัลติมีเดียสามารถที่จะนำเสนอได้ทั้งเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี กราฟิก ภาพถ่ายวัสดุตีพิมพ์ ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ ประกอบกับสามารถที่จะจำลองภาพของการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองแบบเชิงรุก (Active Learining) พัลลภ พิริยสุรวงศ์ ได้กล่าวถึงการประยุกต์ใช้ มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนไว้ดังนี้การใช้มัลติมีเดียทางการเรียนการสอน ก็เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียน และตอบสนองรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน การจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่าง ๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริง โดยสามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกรบวนการได้เป็นอย่างดี นักเรียนอาจจะเรียนหรือฝึกซ้ำได้ เช่น การใช้มัลติมีเดียในการฝึกภาษาต่างประเทศ โดยเน้นเรื่องการออกเสียงและฝึกพูด เป็นต้น
การใช้มัลติมีเดียเพื่อเป็นวัสดุทางการสอนทำให้การสอนมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วัสดุการสอนธรรมดา และสามารถเสนอเนื้อหาได้ลึกซึ้งงกว่าการสอนที่สอนตามปกติ อาทิการเตรียมนำเสนอไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และใช้สื่อประเภทภาพประกอบการบรรยาย และใช้ข้อความนำเสนอในส่วนรายละเอียดพร้อมภาพเคลื่อนไหวหรือใช้วีดิทัศน์เช่นนี้แล้วก็จะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
1. ส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองแบบเชิงรุก (Active) กับแบบสื่อนำเสนอการสอนแบบเชิงรับ(Passive)
2. สามารถเป็นแบบจำลองการนำเสนอหรือตัวอย่างที่เป็นแบบฝึก และการสอนที่ไม่มีแบบฝึก
3. มีภาพประกอบและมีปฏิสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
4.เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.จัดการด้านเวลาในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาในการเรียนน้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น